วันสำคัญ

Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันสำคัญทางศาสนาพุทธ
๑. วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
คำว่า
การทำบุญในพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง ซึ่งปรารภ
การประชุมใหญ่ของพระสาวกที่เรียกว่า จาตุรงค
สันนิบาต ในวันเพ็ญเดือน ๓ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร
ใกล้กรุงราชคฤห์
คำว่า จาตุรงคสันนิบาต แปลว่า การประชุม
พระสาวก ซึ่งประกอบด้วยองค์สี่ หรือการประชุม
พร้อมด้วยองค์สี่ ได้แก่
๑. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้น ล้วนเป็นเอหิภิกขุ
คือได้รับอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
๒. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
๓. พระสงฆ์ที่ประชุมวันนั้นมีจำนวนถึง ๑,๒๕๐ รูป
มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย และพระพุทธเจ้าได้
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
๔. วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ พระจันทร์เต็ม
ดวงบริบูรณ์
คำว่า
ประธาน หรือคำสอนที่เป็นหลักใหญ่ เป็นหัวใจของ
พระพุทธศาสนา โดยย่อมี ๓ ประการ คือ
“มาฆบูชา” เป็นชื่อของพิธีบูชา และโอวาทปาติโมกข์ แปลว่า โอวาทที่เป็น
๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง (ละชั่ว)
๒. การยังกุศลให้ถึงพร้อม (ทำความดี)
๓. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว (ทำจิตใจ
บริสุทธิ์)
๒. วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
คำว่า
ปูรณมีบูชา”
เดือนวิสาขะ ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
ถ้าหากตรงกับปีอธิกมาส คือ ปีที่มีเดือน ๘ สองหน
วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗
ในวันวิสาขบูชา มีเหตุการณ์เกิดขึ้น ๓ ประการ
และจัดว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญ คือ
๑. เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ
ณ ลุมพินีวัน อยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ
แคว้นสักกะ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งต่อ
มาพระองค์ได้ออกบวชจนได้บรรจุอนุตตรสัมมา
สัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึง
ถือว่าเป็นวันเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าหรือวันพระพุทธ
๒. เป็นวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ มหาโพธิ
บัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราฝั่งตะวันตก ตำบลอุรุ
เวลาเสนานิคมแคว้นมคธ ในตอนเช้ามืดของวันพุธ
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
จึงถือว่าเป็นวันเกิดขึ้นของพระธรรมหรือวันพระธรรม
๓. เ ป็น วัน ป รินิพ พ า น ข อ ง พ ร ะ พุท ธ เจ้า
ณ ระหว่างต้นสาละ ๒ ต้น ในสาลวโนทยานของ
มัลลกษัตริย์ใกล้กรุงกุสินารา เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๖ ปีมะเส็ง
สมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ได้มีมติ
เป็นเอกฉันท์ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้
ถือว่า
of the Visaka Day)
วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า “วิสาขแปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญวันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากล (International
๓. วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวัน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
ความหมายของ
ประกอบขึ้นจากคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘
ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันเข้าจึง
แปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึง
เหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘
“วันอาสาฬหบูชา” อาสาฬหบูชา
ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา
๑. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
(เทศนากัณฑ์แรก) คือ พระธัมจักกัปปวัตตนสูตร
๒. เป็นวันเกิดพระอริยสงฆ์สาวกองค์แรก คือ
ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม เมื่อได้
สดับพระปฐมเทศนา
๓. เป็นวันเกิดพระสังฆรัตนะ ทำให้มีพระรัตนตรัย
คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบทั้ง ๓ รัตนะ
ในวันนี้
๔. วันอัฏฐมีบูชา
วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖
วันอัฏฐมีบูชา
สรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจาก
ที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพานแล้ว ๘ วัน
โดยนับจากวันที่พระองค์ปรินิพพาน
เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธ
ข้อปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนในวันสำคัญทาง
พระพุทธศาสนา
๑. เ มื่อ ถึง วัน ม า ฆ บูช า
วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา
และวันอัฏฐมีบูชา เวียนมาถึงใน
ตอนเช้า นอกจากจะมีการทำบุญตักบาตรตามปกติแล้ว
สาธุชนจะรับอุโบสถศีล และฟังเทศน์ตามวัดที่ใกล้เคียง
หรือวัดที่คุ้นเคย ในตอนค่ำนำธูป เทียน ดอกไม้
ไปประชุมพร้อมกันที่โบสถ์ หรือเจดียสถานแห่งใด
แห่งหนึ่งเพื่อทำพิธีเวียนเทียน
๒. เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมแล้ว คฤหัสถ์
ทั้งหลาย ยืนถือธูป เทียน ดอกไม้ ประนมมือ
อยู่ถัดพระสงฆ์ออกไป เมื่อ
พระภิกษุที่เป็นประธานกล่าวนำ
คำบูชา ที่ประชุมทั้งหมดว่าตามพร้อม ๆ กัน เมื่อ
กล่าวคำบูชาเสร็จแล้ว พระสงฆ์ เดินนำหน้าเวียนขวา
รอบพระอุโบสถ หรือพระสถูปเจดีย์ ๓ รอบ
ซึ่งเรียกว่า เวียนเทียน คฤหัสถ์เดินตามอย่างสงบ
๓. ขณะเวียนเทียนรอบแรกให้ระลึกถึง
พระพุทธคุณ รอบที่ ๒ ระลึกถึงพระธรรมคุณ
รอบที่ ๓ ระลึกถึงพระสังฆคุณ
๔. ข้อที่ควรทำเป็นพิเศษในวันนี้ ก็คือ ควร
พิจารณาความหมายของการเว้นชั่ว ทำดี ทำจิตใจ
ให้บริสุทธิ์ ให้เข้าใจชัดเจนลึกซึ้ง แล้วตั้งใจปฏิบัติ
ได้ตามนั้น
๕. คณะสงฆ์ ทางราชการ ภาคเอกชน และ
พุทธศาสนิกชน ได้ร่วมกันจัดงานสัปดาห์ส่งเสริม
พระพุทธศาสนา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง และ
พุทธมณฑล ตลอดจนวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร
๕. วันเข้าพรรษา
ความหมาย
วันเข้าพรรษา
เป็นวันที่พระสงฆ์จะต้องเข้า
จำพรรษา จะไปค้างแรมที่อื่น
ไม่ได้ คือต้องอยู่ประจำที่ตลอด ๓ เดือน ในฤดูฝน
ตามพระวินัยบัญญัติ วันเข้าพรรษามี ๒ ระยะ คือ
๑. วันเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ
เดือน ๘ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
๒. วันเข้าพรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ
เดือน ๙ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
(มีปฏิบัติน้อยมาก)
๖. วันออกพรรษา
ความหมาย วันออกพรรษา
เป็นวันสิ้นสุดการอยู่จำพรรษา
ของพระสงฆ์ตลอด ๓ เดือน ใน
ฤดูฝนจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พระสงฆ์จะทำ
พิธีออกพรรษา ซึ่งเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง เรียกว่า
วันมหาปวารณา โดยภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณา
คือ เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันในเรื่อง
ความประพฤติจะเป็นด้วยได้เห็นได้ฟังมา หรือระแวง
สงสัยก็ตาม ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ วันนี้จึงเรียกว่า
วันออกพรรษาหรือวันมหาปวารณา
๗. พิธีตักบาตรเทโว
พิธีตักบาตรเทโว
ออกพรรษา พุทธศาสนิกชนนิยมไปตักบาตรที่วัด
ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า
คือ การทำบุญพิเศษในวัน“การตักบาตรเทโว”
คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์ หลังจากที่ทรงประทับจำพรรษาอยู่ตลอด
๓ เดือน เพื่อโปรดพุทธมารดา โดยเสด็จลงที่ประตู
เมืองสังกัสสะ
๘. วันธัมมัสสวนะ หรือวันพระ
วันธัมมัสสวนะ หรือวันพระ ในหนึ่งเดือนจะมี
๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ หรือแรม ๘ ค่ำ และ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ หรือแรม ๑๕ ค่ำ (ถ้าเดือนขาดจะเป็น
วันแรม ๑๔ ค่ำ)
กิจกรรมในวันนี้ชาวพุทธจะทำบุญตักบาตร
รักษาอุโบสถศีล (รักษาศีล ๘ เป็นกรณีพิเศษ)
ฟังเทศน์ เจริญจิตตภาวนา งดเว้นอบายมุข
ตามสมควรแก่อุปนิสัย
๙. วันขึ้นปีใหม่
ในอดีตไทยเราเคยกำหนด
วันขึ้นปีใหม่ เป็นวันแรม ๑ ค่ำ
เดือนอ้าย (เดือน ๑) บ้าง ขึ้น
๑ ค่ำ เดือน ๕ บ้าง วันที่ ๑ เมษายน และวันที่
๑๓ เมษายน (วันสงกรานต์)
ต่อมาทางราชการโดยคณะรัฐบาลของ จอมพล
ป. พิบูลสงคราม ประกาศเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม ตั้งแต่
พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมาให้เป็นวันขึ้นปีใหม่
และใช้เรื่อยมาจนทุกวันนี้
กิจกรรมที่ชาวพุทธพึงกระทำคือ ทำบุญ ตักบาตร
รักษาศีล ฟังธรรม ปล่อยนก ปล่อยปลา เป็นต้น
๑๐. วันสงกรานต์
วันสงกรานต์ ถือเป็น
วันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่
โบราณ และในช่วงวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เมษายน
ทางราชการหยุด ๓ วัน ถือว่าเป็นวันครอบครัว ต่อมา
ทางราชการได้กำหนดเอาวันที่ ๑ มกราคมของทุกปี
เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
10